เฝือกหลอดลมจากเครื่องปริ้นเตอร์ 3 มิติ ช่วยชีวิตเด็ก

ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้พัฒนาออกแบบเฝือกหลอดลมซึ่งทำมาจากเครื่องปริ้นเตอร์ 3 มิติ สำหรับช่วยเหลือเด็กที่ระบบทางเดินหายใจถูกปิดกั้น

หนูน้อยไคบา จิออนฟริดโด วัย 6 สัปดาห์ หยุดหายใจเป็นพัก ๆ และใบหน้าก็เริ่มเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินจากการขาดอากาศหายใจ  เมื่อผู้ปกครองของเด็กสังเกตเห็นดังนั้นจึงรีบพาไปโรงพยาบาล

นายแพทย์ผู้ตรวจร่างกายของไคบา พบว่า หนูน้อยเป็นโรค  tracheobronchomalacia เกิดจากความผิดปกติที่บริเวณหลอดลม ทำให้ระบบทางเดินหายใจถูกปิดกั้น นับได้ว่าเป็นความผิดปกติที่ไม่ได้พบบ่อยในเด็ก

เมื่อการรักษามีทีท่าจะล้มเหลว แพทย์ที่รักษาไคบา ได้เดินทางไปยังมหาวิทยาลัยมิชิแกน เพื่อพบกับ ดร. เกล็น กรีน ศาสตราจารย์ด้านโสตนาสิกลาริงซ์วิทยา (หู คอ จมูก และ กล่องเสียง) ในเด็ก และ สกอตต์ ฮอลลิสเตอร์ ศาสตราจารย์ด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ ,วิศวกรรมเครื่องกลและรองศาสตราจารย์ของการผ่าตัด

ศาสตรจารย์จากมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ทำ CT scan ไคบา และสร้างเฝือกสำหรับดามหลอดลมจากเครื่องพิมพ์ 3D

เฝือกหลอดลม

เฝือกหลอดลมจากเครื่องปริ้นเตอร์3มิติ

ขั้นตอนทั้งหมดเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2012 เฝือกจากเครื่องปริ้นเตอร์ถูกเย็บติดรอบทางเดินหายใจของไคบา เป็นการช่วยเปิดหลอดลมให้หายใจ

ดร.กรีน กล่าวว่า “ช่างน่ามหัศจรรย์มาก ทันทีที่เราติดเฝือกหลอดลมเข้าไป ปอดของไคบาก็เริ่มขยับขึ้นลง และนั่นก็ทำให้เราทราบได้ว่า วิธีการนี้ได้ผล”

สำหรับเฝือกที่ทำขึ้นมาจะถูกร่างกายดูดซึมไปเองในช่วงระยะเวลาประมาณ 3 ปี ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นระบบทางเดินหายใจก็แข็งแรงพอที่จะทำงานตามปกติได้แล้ว

บทความที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้อง

ไนกี้ตัดเสื้อนักฟุตบอล 1 ชุด ด้วยขวดน้ำดื่มพลาสติก 13 ขวด
Torbit Insight สำหรับเว็บมาสเตอร์ ใช้ตรวจความเว็บในการโหลดเว็บและดูสถิติเว็บไซต์
VGo Robotic Telepresence หุ่นยนต์บังคับผ่านระบบ WIFI
แอปพลิเคชั่นดูแลสภาพผิว ตรวจสิวง่ายๆด้วยมือถือ
iRobot Roomba 790 เครื่องดูดฝุ่นควบคุมด้วยรีโมทไร้สาย
ChiliPad ที่นอนปรับอากาศด้วยน้ำ
บ้าน+ที่จอดรถ กลางวันเป็นที่จอดรถ กลางคืนกลายเป็นบ้าน
ญี่ปุ่นเผยโฉมต้นแบบรถไฟพลังแม่เหล็กที่วิ่งได้เร็ว 310 ไมล์ต่อชั่วโมง

แสดงความคิดเห็น

comments